ก๊าซหลัก 7 ชนิดที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน นับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้น เราทราบไหมว่าสาเหตุหลักมาจากการมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากเกินไป โดยก๊าซเรือนกระจกนี้มีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น 

ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ที่สำคัญ มี 7 ชนิดด้วยกัน คือ

  1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2) เป็นก๊าซที่สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมนุษย์เป็นตัวการหลักในการสร้างและปล่อยก๊าซนี้ เช่น การเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมัน กีาซธรรมชาติ เพื่อเป็นพลังงาน การคมนาคม การขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซดักจับความร้อนในชั้นบรรยากาศของโลก และไม่สะท้อนความร้อนออกไป จึงทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น
  2. ก๊าซมีเทน (CH4)

มีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 25 เท่า เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ เช่น การทำนาข้าว การทำฟาร์มปศุสัตว์ มูลสัตว์ ระบบย่อยอาหารของสัตว์ ขยะอินทรีย์ที่กำลังย่อยสลาย การทิ้งขยะด้วยวิธีการฝังกลบ การผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

  1. ก๊าซไนตรัสออกไซค์ (N20) เกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ แหล่ง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงในภาคพลังงาน แต่ที่มีเพิ่มสูงขึ้น ในปัจจุบันมาจากภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิตกรดในตริก การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การทำฟาร์ม การจัดการ

มูลสัตว์ โดยมีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 298 เท่า

  1. ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) เป็นก๊าซสังเคราะห์ที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การถลุงอะลูมิเนียม การผลิตสารกึ่งตัวนำ เป็นต้น ซึ่งมีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 12,200 เท่า
  2. ก๊าซโฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) มีค่าศักยภาพในการทำให้กิดภาวะโลกร้อนสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์

ถึง 14,800 เท่า เป็นก๊าซสังเคราะห์ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในระบบทำความเย็นต่าง ๆ ในเครื่องปรับอากาศ ทั้งในบ้าน

รถยนต์ สำนักงาน นอกจากนี้ ยังใช้ในอุตสาหกรรมโฟมและสารดับเพลิง ก๊าซชนิดนี้ แม้จะถูกปล่อยออกมาในปริมาณน้อย แต่สร้างผลกระทบต่อโลกได้สูงมาก

  1. ก๊าซในโตรเจนไตรฟลูออไรค์ (NF3) มีค่าศักยภาพในการทำให้กิดภาวะโลกร้อนสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์

17,200 เท่า พบมากในกระบวนการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือวงจรขนาดเล็ก อุตสาหกรรมผลิตวงจรไฟฟ้า

โซลาร์ซลล์ จอแอลซีดีที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือและโทรทัศน์

  1. ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6)

มีค่าศักยภาพในการทำให้กิดภาวะโลกร้อนสูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุดถึง 22,800 เท่า ก๊าซนี้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหนัก อย่างอุตสาหกรรมยางรถยนต์ ฉนวนไฟฟ้า สารกึ่งตัวนำไฟฟ้า แมกนีเซียม

ที่มาข้อมูล : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม www.deqp.go.th

 

Image by brgfx on Freepik