โควิด-19ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ

โควิด-19ในเด็ก

ศูนย์รักษาและส่งต่อโรค covid-19 ในเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) COVID QSNICH

หากเด็กมีผลยืนยันติดเชื้อแล้ว และต้องการรับการรักษา
 ➡ โปรดแจ้งชื่อสกุลก่อนกดลิ้งค์ “ลงทะเบียนเพื่อขอรับการรักษา” ➡ https://forms.gle/399Tz3iaYWEzuXXD9
 💡 โปรดกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนหากไม่ครบ อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้า ในการรับเข้ารักษา

กรณีที่ส่งต่อจากสถานพยาบาล ไม่แนะนำให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้กรอกข้อมูล แต่ให้ญาติ Add LINE กรอกข้อมูลด้วยตนเอง

LINE ID : @080hcijL

หลังเพิ่มเพื่อนแล้วให้กรอกข้อมูลลงทะเบียน ให้ครบถ้วน

รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ของสถาบันภายใน 24 ชั่วโมง

หากไม่ได้รับการติดต่อสามารถสอบถามเข้ามาใน  LINE Official ชื่อ COVID QSNICH หรือโทรมาที่ 1415 

สถานการณ์ โควิด-19 ในเด็กไทย (อายุ 0-18 ปี) ตัง้แต่มีการระบาด ระลอกใหม่ 1 เมษายน 2564-29 มิถุนายน 2564

• จำนวนเด็กติดเชื้อ โควิด-19 อายุแรกเกิด- 18 ปีสะสม ตั้งแต่ 1 เมย. -29 มิย. 2564 จ านวน 20,062 ราย

• จาก 16 มิย.- 22 มิย. 2564 มีเด็กติดเชื้อ COVID -19 เพิ่ม 2,586 ราย คิดเป็น ร้อยละ 11.11 ของ ผู้ติด เชื้อทั้งหมด (2,586/23,101)

• จาก 23 มิย.- 29 มิย. 2564 มีเด็กติดเชื้อ COVID -19 เพิ่ม 3,735 ราย คิดเป็น ร้อยละ 12.85 ของ ผู้ติด เชื้อทั้งหมด (3,735/29,150)

• มีผู้ป่วยเด็ก เสียชีวิตเพิ่ม ในช่วง เวลา 2 สัปดาห์หลัง 1 ราย รวมเด็กเสียชีวิตสะสม 5 ราย ตั้งแต่ 1 เมย 2564- 29 มิย. 2564

(ข้อมูลจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย)


โควิด-19ในหญิงตั้งครรภ์

จากข้อมูลการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่ม หญิงตั้งครรภ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 20 กรกฎาคม 2564 พบมีหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 898 ราย เสียชีวิต 16 ราย 

“หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว ยังคงต้องป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ เป็นพิเศษ โดยงดใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนในบ้าน หมั่นล้างมือเป็นประจำ เว้นระยะห่าง งดออกจากบ้านหรือเดินทางเท่าที่จำเป็น การติดตามข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงมีการทบทวนวิเคราะห์สาเหตุการตายมารดาจากโควิด-19 เพื่อหามาตรการป้องกัน โดยมีศูนย์อนามัยที่ 1–12 ของกรมอนามัย ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว


โควิด-19ในผู้สูงอายุ

จะป้องกันเชื้อโควิด-19 ไม่ให้แพร่สู่ผู้สูงอายุได้อย่างไร ญาติที่ไม่ใช่ผู้ดูแลหลัก และ คนรู้จัก

  1. ผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อเช่น มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือผู้เดินทางกลับ จากกรุงเทพฯและปริมณฑล หรือแหล่งที่มีการติดเชื้อในชุมชนในวงกว้างทุกรายต้องแยกตัวออกจากผู้อื่น และไม่เข้าไปใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้สูงอายุ และ เด็ก อย่างเด็ดขาด (เนื่องจากเด็กร่างกายไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่ เด็กมักจะไปใกล้ชิดกับผู้สูงอายุและเด็กอาจไม่เข้าใจวิธีและขาดความระมัดระวังในการป้องกัน) โดยให้ สังเกตอาการอย่างน้อย 14 วัน
  2. ห้ามไม่ให้ผู้ที่มีไข้ตัวร้อน หรือมีอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หายใจล้าบากเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุโดยเด็ดขาด
  3. งด/ลดการมาเยี่ยมจากคนนอกบ้านให้น้อยที่สุด โดยแนะน้าให้ใช้การเยี่ยมทางโทรศัพท์ หรือ สื่อสังคม ออนไลน์ต่างๆแทน
  4. ในขณะเข้าเยี่ยมผู้สูงอายุ ใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง ลดการเข้าใกล้หรือสัมผัสกับผู้สูงอายุ ลงเหลือเท่าที่จ้าเป็น โดยรักษาระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร

ผู้ดูแลหลักของผู้สูงอายุและ ตัวผู้สูงอายุ

  1. ควรจัดให้มีผู้ดูแลหลักคนเดียว โดยเลือกคนที่สามารถอยู่บ้านได้มากและจ้าเป็นต้องออกไปนอกบ้านน้อยที่ สุดแต่สามารถสลับสับเปลี่ยนผู้ดูแลหลักได้แต่ไม่ควรเปลี่ยนบ่อย และต้องแน่ใจว่าผู้จะมาเป็นผู้ดูแลหลัก คนใหม่ต้องไม่ใช่ผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
  2. ระหว่างมีการระบาดทั้งผู้ดูแลหลักและผู้สูงอายุควรเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านให้มากที่สุด
  3. ทั้งผู้ดูแลหลักและผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับเด็ก (เด็กมักจะไปใกล้ชิดกับผู้สูงอายุและเด็กอาจไม่ เข้าใจวิธีและขาดความระมัดระวังในการป้องกัน)
  4. หากผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลต้องออกนอกบ้าน ควรเลือกเวลาออกจากบ้านที่ไม่เจอกับความไม่แออัด หลีกเลี่ยง การใช้ขนส่งสาธารณะและการไปในที่แออัด ต้องรีบท้าธุระให้เสร็จโดยเร็ว ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือ หน้ากากผ้า ทุกครั้งพกแอลกอฮอล์เจลไปด้วยโดยท้าความสะอาดมือทุกครั้งหลังจับสิ่งของ และก่อนเข้า บ้าน
  5. ผู้สูงอายุหรือผู้ดูแลเมื่อกลับถึงบ้านควรอาบน้ำสระผมท้าความสะอาดร่างกายและของใช้ที่ติดตัวกลับมา จากนอกบ้าน เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที ก่อนไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้สูงอายุคนอื่นๆ
  6. หากผู้สูงอายุต้องไปพบแพทย์ตามนัด – ในกรณีที่อาการคงที่ และ ผลการตรวจล่าสุดปกติ ให้ติดต่อโรงพยาบาลเพื่อเลื่อนนัด หรือ ไปรับ ยาแทนหรือรับยาใกล้บ้าน – ในกรณีที่อาการแย่ลง หรือ ผลการตรวจล่าสุดผิดปกติควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลเพื่อนัด หมายไปตรวจด้วยช่องทางที่ปลอดภัยที่สุด โดยให้ผู้สูงอายุสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า คลุมผ้าที่ตัวผู้สูงอายุให้มิดชิด และเมื่อกลับถึงบ้าน ให้อาบน้ำสระผม ท้าความสะอาดร่างกายและ ของใช้ที่ติดตัวกลับมาจากนอกบ้าน เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่และซักเสื้อผ้าและผ้าคลุมทันที
  7. ล้างมือด้วยการฟอกสบู่อย่างน้อย 20 วินาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือ ท้าความสะอาดมือด้วย แอลกอฮอล์เจล โดยทิ้งไว้ให้ชุ่มไม่แห้งเร็วกว่า 20 วินาที ทุกครั้งเมื่อกลับเข้าบ้าน ก่อนเตรียมอาหาร ก่อน รับประทานอาหาร หลังการไอจาม และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
  8. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกัน แต่หากมีการมาร่วมรับประทานอาหารด้วยกันควรแยก รับประทานของตนเองไม่รับประทานอาหารร่วมส้ารับ หรือใช้ภาชนะเดียวกัน หรือใช้ช้อนกลางร่วมกัน
  9. ผู้สูงอายุควรแยกห้องพักและของใช้ส่วนตัว หากแยกห้องไม่ได้ ควรแยกบริเวณที่นอนให้ห่างจากคนอื่น มากที่สุด ที่พักอาศัยและห้องพักควรเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ไม่ควรนอนร่วมกันในห้องปิดที่ใช้ เครื่องปรับอากาศ
  10. หมั่นท้าความสะอาดพื้นผิวที่ถูกสัมผัสบ่อย ๆด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์70%, แอลกอฮอล์ เจลsodium hypochlorite(น้ำยาซักผ้าขาว) หรือ chloroxylenol หรือ hydrogen peroxide เช็ดตาม สวิตช์ไฟ ลูกบิดหรือมือจับประตู โต๊ะ ราวจับ รีโมท โทรศัพท์ พื้น โถส้วม ปุ่มกดน้ำชักโครก ก๊อกน้ำ ระวัง พลัดตกหกล้มโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เปียกน้ำหรือพื้นลื่นที่เป็นผิวมัน 

สังเกตอย่างไรว่าผู้สูงอายุติดเชื้อ

กรณีที่ผู้สูงอายุมีการติดเชื้อเกิดขึ้น อาการอาจไม่ชัดเจนและไม่ตรงไปตรงมา เช่นอาจไม่มีไข้ หรืออาจ มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้ ซึมสับสนเฉียบพลัน ความสามารถในการ ช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่อาการจะรุนแรงมากกว่า ในวัยอื่นๆ

จะดูแลผู้สูงอายุอย่างไรไม่ให้เกิดการถดถอยของร่างกาย สมอง และ เกิดความเครียดระหว่างที่ผู้สูงอายุ ต้องเก็บตัวอยู่กับบ้าน

โดยยึดหลัก 5อ. ได้แก่ อาหาร ออกก้าลังกาย อารมณ์ เอนกายพักผ่อน ออกห่างสังคมนอกบ้าน ดังนี้

อาหาร

รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะปรุงสุกใหม่ๆไม่รับประทานอาหารที่หวานหรือเค็มเกินไป เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูงเสริมภูมิคุ้มกัน และควรให้รับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้รับ สารอาหารที่ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายและสมอง

ผู้สูงอายุมักมีมีปัญหาสุขภาพในช่องปากซึ่งส่งผลต่อการรับประทานอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงที่ต้อง ออกมาพบทันตแพทย์ในช่วงวิกฤตนี้ ขอแนะน้าผู้สูงอายุให้รักษาสุขภาพช่องปากโดยใช้สูตร 2 – 2 – 2 ดังนี้ แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง, แปรงฟันนานอย่างน้อย 2 นาที และไม่รับประทานอาหารหลังการแปรงฟัน 2 ชั่วโมง หากมีฟันปลอมให้ถอดฟันปลอมออกล้างหลังรับประทานอาหาร และก่อนเข้านอนเพื่อไม่ให้เป็น แหล่งสะสมเชื้อโรค หลีกเลี่ยงอาหารแข็งหรือเหนียว

ออกกำลังกาย

ชวนผู้สูงอายุออกก้าลังกายด้วยท่าง่ายๆเช่น การเดิน หรือแกว่งแขนออกก้าลังกายในบ้านอย่าง สม่้าเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 – 60 นาที หรือเท่าที่ท้าได้ตามสภาพของผู้สูงอายุ

อารมณ์

หยุดรับข่าวสารที่มากเกินไป โดยจ้ากัดการติดตามข้อมูลประมาณวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอน เย็นหรือตอนกลางคืน เพื่อป้องกันภาวะวิตกกังวลจากการรับข่าวสารมากเกินไปไม่ควรกังวลหรือตระหนกกับ ข่าวร้ายให้มาก ผู้สูงอายุคือผู้ที่ผ่านความยากล้าบากและโรคระบาดร้ายแรงต่างๆมาแล้ว ท่านจะเป็นผู้ให้หลัก คิดแก่ลูกหลานได

ปรึกษาผู้รู้ใจหรือไว้ใจได้ เช่น ครอบครัว ลูกหลาน ญาติ เพื่อน ๆ เพื่อระบายความไม่สบายใจ ความ กังวลและความกลัวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

การท้ากิจกรรมที่ผู้สูงอายุชื่นชอบ มีความถนัด มีความภูมิใจ เช่น ท้าอาหาร เล่นดนตรี วาดรูป อ่าน หนังสือ ดูโทรทัศน์ ปลูกต้นไม้ ท้าสวนฯลฯ หัวใจส้าคัญที่สุด คือ ต้องรู้ก่อนว่าผู้สูงอายุในบ้านของเราชอบอะไร แล้วหากิจกรรมที่สอดคล้องกับที่เขาชื่นชอบ

สร้างความสุขให้ตนเองและสมาชิกในครอบครัวท้าสิ่งที่เพลิดเพลินและมีความสุข พูดคุยเรื่องที่ท้าให้มี ความสุข สนุกสนาน ดูรูปภาพที่เป็นความสุขของครอบครัว

หากยังไม่ได้ผล ใช้เทคนิคจัดการความเครียด เช่น การฝึกหายใจคลายเครียด การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การนวดคลายเครียดด้วยตนเอง (สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaimentalhealth.com)

โทรปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต โทร. 1323 ถ้าพบว่ามีความผิดปกติด้านอารมณ์ หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย สมาธิไม่ดี มีความคิดในแง่ลบ หมกมุ่นแต่เรื่องการระบาด และกลัวว่าตนเองจะติดเชื้อ นอน ไม่หลับ ต้องพึ่งเหล้า บุหรี่ ยาและยาเสพติดมากขึ้น

เอนกายพักผ่อน

ผู้สูงอายุต้องพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนส้าคัญมาก ควรให้นอนประมาณไม่เกิน 3 ทุ่ม เพื่อให้ พักผ่อนได้เต็มที่ยาวนาน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7 – 9 ชั่วโมง/วัน

ออกห่างสังคมนอกบ้าน

ระหว่างมีการระบาดทั้งผู้สูงอายุ และ ผู้ดูแลควรเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านให้มากที่สุดแต่ญาติหรือผู้ดูแลที่ ยังต้องออกไปนอกบ้านด้วยเหตุผลความจ้าเป็นต่างๆ ไม่ควรเข้าไปคลุกคลีกับผู้สูงอายุ รักษาระยะห่างอย่าง น้อย 2 เมตร และควรใส่หน้าการอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่เข้าไปพูดคุยกับผู้สูงอายุ

(ข้อมูลจากสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข)