เต่าหับ เต่าให้โชคหรือสัตว์หายาก

เต่าหับ (อังกฤษ: Asian box turtle, Siamese box terrapin)

สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายเต่านา แต่มีกระดองโค้งนูนสูงกว่า กระดองราบเรียบ ใต้ท้องแบ่งเป็น 2 ตอน สามารถเก็บขา หัว และหางเข้ากระดองได้มิดชิด อันเป็นที่มาของชื่อ หัวมีขนาดเล็กสีเหลืองมีลวดลายสีดำ กระดองสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาวหรือสีเหลือง ขามีผังผืด โตได้เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร
“คำว่า หับ กริยา แปลว่า ปิด,งับ คำนาม แปลว่า ห้อง”

เต่าหับสามารถพบได้ในแหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคกลางและภาคใต้ เป็นเต่าที่สามารถว่ายน้ำได้ดี แต่ชอบอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่าลงน้ำ ผสมพันธุ์ในน้ำ แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่เพียงครั้งละ 2-3 ฟองเท่านั้น อาหารสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พบว่าเต่าหับนับเป็นสัตว์ที่มีการลักลอบซื้อขายกันมากที่สุดในตลาดค้าสัตว์ป่าร่วมกับลิ่น

โดยเต่าหับนอกจากได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังถือว่าเป็นสัตว์นำโชคอีกด้วย เชื่อว่าจะนำโชคลาภมาสู่ผู้เป็นเจ้าของ โดยเฉพาะหากเต่าหับตัวใดมีหับที่ใต้ท้องมากกว่า 2 ตอน หรือ 3 ตอน และยังนำกระดองไปทำเป็นเครื่องรางของขลังได้อีกด้วย

แต่เนื่องจากเต่าหับเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ถ้ามีไว้ครอบครองจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2562  มาตรา 15 ฐาน  “ ทิ้งหรือปล่อยเป็นอิสระ  ซึ่งสัตว์ป้าคุ้มครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี ”  ซึ่งต้องระวางโทษตามมาตรา 91  จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  และมาตรา 17 ฐาน  “ มีสัตว์ป่าคุ้มครองไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รู้บอนุญาติจากอธิบดี ”

เคยมีผู้ร้องเรียนว่าที่วัดต้นสน อำเภอเมือง  จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2563 ทางเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าบ่อภายในวัด พบสัตว์ป้าคุ้มครอง จำพวกสัตว์เลื้อยคลาน  ชนิดเต่า จำนวน 3 ชนิด รวม 563 ตัว ได้แก่  เต่าบัว จำนวน 369 ตัว  เต่าหวาย จำนวน 158 ตัว  และเต่าหับ จำนวน 36 ตัว
เจ้าอาวาสวัดต้นสนได้ชี้แจงว่า มีชาวบ้านต่างนำสัตว์มาปล่อยไว้จำนวนมาก  เป็นภาระหน้าที่ของวัดที่ต้องเลี้ยงดู  และทางวัดไม่ทราบว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองผิดกฎหมาย และด้วยเต่าอายุยืนทำให้มีจำนวนมาก เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีสัตว์ป่าคุ้มครอง  เบื้องต้นก็ไม่ได้แจ้งความผิดแก่ผู้ใด  ซึ่งทางวัดยินดีให้ทางราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  รับมอบสัตว์ป่าดังกล่าวไปดูแล

ในปัจจุบันชาวบ้านยังพบเต่าหับอยู่บ้าง ทั้งนี้ผู้พบสามารถส่งมอบให้ ประมงประจำจังหวัดไปดูแลได้