กิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นในช่วงทศกาลตรุษจีน
ชื่อเทศกาลปีใหม่ที่จีนใช้ว่า “เทศกาลตรุษจีน”(ซุนเจี๋ย) โดยก่อนที่จะถึงปีใหม่ ชาวจีนจะทำความสะอาดบ้านกำจัดของเก่าที่ไม่ดีออกไป ต้อนรับของใหม่ที่จะเข้ามา ในวันที่ 24 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติจีนก็จะต้องส่งเจ้าขึ้นสวรรค์ เจ้าองค์นี้เป็นเทพเจ้าเตาไฟที่ประจำบ้าน คนไทยเชื้อสายจีนนิยมเปลี่ยนหรือตกแต่งตี่จู้เอี้ยด้วยกิมฮวย
- วันจ่าย ตรงกับวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566
- วันไหว้ ตรงกับวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566
- วันเที่ยว วันตรุษจีน ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2566 วันแรกของปีใหม่ว่า “วันถือ” เป็นวันแห่งการเริ่มต้น มีการเลี้ยงฉลองและการรวมตัวกันของสมาชิกในครอบครัว เริ่มฉลองเทศกาลปีใหม่
ก่อนถึงวันเทศกาลตรุษจีนจะมีการทำความสะอาดบ้านทั่วทั้งในและนอกอาคารเพื่อต้อนรับเทศกาลปีใหม่และการมาเยี่ยมเยียนของญาติพี่น้องในคืนวันก่อนปีใหม่หรือวันสุกดิบที่ลูกหลานและครอบครัวลูกที่แต่งงานไปแล้วก็จะมาในวันนี้เพื่อทานอาหารเย็นด้วยกัน
“โส่วชุ่ย” คือการอยู่โต้รุ่งในคืนก่อนปีใหม่ มีความหมายแฝงคือ เป็นการบอกลาอายุเก่า และอวยพรให้พ่อแม่มีอายุยืนยาว
“อั่งเปา” หรือ หงเปา หมายถึงซองแดง ตามธรรมเนียมใครที่แต่งงานแล้วถึงจะสามารถมอบซองแดงให้แก่เด็กๆได้ อั่งเปาจึงเป็นสัญญลักษณ์ชองการอวยพรกันในวันฉลองขึ้นปีใหม่
การจุดประทัดและการเชิดมังกรหรือสิงโตในวันขึ้นปีใหม่ ทั้งสองสิ่งเพื่อขจัดสิ่งชั่วร้ายและนำโชคดีต่างๆเข้ามา และช่วยสร้างบรรยากาศ
การไปมาหาสู่กันและอวยพรให้มีความสุขตลอดช่วงปีใหม่ มีการรับประทานอาหารร่วมกัน และที่ขาดไม่ได้คือ การแลกเปลี่ยนส้มแมนดาริน ชึ่งคำว่า “ส้มแมนดาริน”ในภาษากวางตุ้ง ออกเสียงคล้ายกับคำว่า “ทองคำ” จึงเป็นของมงคลในการมอบให้กัน จะแลกในจำนวน 2 หรือ 4 ผลก็ได้
การประดับประดาด้วยภาพกระดาษตัดแปะ และคำมงคลหรือคำกลอนคู่ บนกระดาษสีแดง ผ้าสีแดง ไม้หรือเสา
อาหารที่ทานกันในวันก่อนขี้นปีใหม่ เช่น ไก่ เป็ด ปลาทั้งตัว นอกจากนี้ยังมีอาหารที่มีชื่อและรูปร่างที่เป็นมงคลดังนี้
1. ขนมเข่ง ความหมายคือ ได้เลื่อนขั้นทุกปี
2. เปาะเปี๊ยะทอด ความหมายคือ เจริญรุ่งเรือง เก็บเกี่ยวได้ดี
3. ผักกาดเขียว ความหมายคือ สดชื่นตลอดกาล
4. เส้นหมี่ หรือ เส้นทอง ความหมายคือ อายุยืน
5. เกี๊ยว ความหมายคือ เงินทองไหลมาเทมา
6. หน่อไม้ ความหมายคือ เลื่อนขั้นตลอดไป ไร้อุปสรรค
7. ถั่วงอก ความหมายคือ โชคดี สมปราถนา
8. ปลา ความหมายคือ เหลือกินเหลือใช้
ที่มา : หนังสือ ต้นกำเนิดเทศกาลจีน
วันตรุษจีนมีข้อห้าม หรือคติความเชื่อเป็นประเพณีสืบทอดกันมา
-1. การกล่าวคำอวยพรให้ผู้ใหญ่
-2. ไม่พูดจาไม่ดี ไม่ทวงหนี้
-3. ไม่จับไม้กวาด
-4. ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่
-5. ไม่ทำบาป
หลังวันไหว้ชาวไทยเชื้อสายจีนนิยมไปทำบุญที่ ‘ศาลเจ้าไต้ฮงกง‘ ป่อเต็กตึ๊ง ทำบุญสะเดาะเคราะห์ แก้ปีชง และหลังจากทำบุญเสร็จ ทางศาลเจ้ามีแจก “สาคูมงคล” หรือ (อี๊) ให้แก่ผู้มาทำบุญด้วยนอกจากวัดเล่งเย่งยี่และศาลเจ้าพ่อเสือแล้ว วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหารก็เป็นอีกวัดนึงที่นิยมไปไหว้เจ้าขอพรในช่วงปีใหม่นี้ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ชาวจีนจะเรียกว่าวัด หลวงพ่อโต ซำปอกง มากราบพระขอพรในเรื่องของโชคลาภ การทำมาค้าขาย การเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย และขอให้มีมิตรภาพที่ดี ได้รับไมตรีจิตจากผู้ที่พบเจอ
ทางเว็บ สาระดีสตอรี่ขออวยพรปีใหม่
“ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้”
ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ปลอดภัย โชคดี สมหวังตลอดไป