29 กรกฎาคม “วันอนุรักษ์เสือโคร่งโลก” (Global Tiger Day)

เสือโคร่งถูกระบุในบัญชีสัตว์ชนิดใกล้สูญพันธุ์ในบัญชีแดงไอยูซีเอ็นจากการประมาณการใน ค.ศ. 2015 คาดว่าประชากรเสือโคร่งทั่วโลกเหลือเพียง 3,062 ถึง 3,948 ตัว 

เสือโคร่งสายพันธุ์ไซบีเรียน (Siberian tiger หรือ Amur tiger: Panthera tigris altaica) เป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (หนักประมาณ 170-300 กิโลกรัม)

ปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรเสือโคร่งมากที่สุด 

สาเหตุหลักที่ทำให้เสือโคร่งลดจำนวนลงอย่างมาก ได้แก่ การรุกล้ำและการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย รวมถึงการล่าโดยมนุษย์ 

นอกจากนี้เสือโคร่งยังเป็นเหยื่อของความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่า (Human–wildlife conflict) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีประชากรหนาแน่น

“เสือโคร่ง” นอกจากจะเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าและควบคุมจำนวนประชากร

หากกล่าวถึง “เสือโคร่ง” แล้ว ภาพความแข็งแรงและดุดันมักจะปรากฏขึ้นเป็นอันดับแรก ๆ เพราะเสือโคร่งจัดเป็น “นักล่าบนจุดสูงสุดของห่วงโซอาหาร” แต่รู้หรือไม่ ? เสือโคร่งที่ดูดุร้ายกลับเป็น “สัญลักษณ์ของการอนุรักษ์ผืนป่า” ด้วยเช่นกัน

“เสือโคร่ง” นอกจากจะเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าและควบคุมจำนวนประชากรสัตว์ป่าแล้ว หากผืนป่าแห่งใดมีเสือโคร่งอาศัยอยู่ แสดงว่าป่านั้นมีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่ถ้าผืนป่าแห่งใดไร้เสือโคร่ง ป่านั้นจะเต็มไปด้วยสัตว์กินพืช ซึ่งระบบนิเวศป่าที่มีสัตว์กินพืชมากเกินไปจะทำให้สังคมพืชเสียสมดุล และส่งผลให้ป่ามีศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงตามไปด้วย

แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา จำนวนประชากรเสือโคร่งลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 95 โดยมีสาเหตุมาจากการถูกมนุษย์ไล่ล่า 

ดังนั้น ทุกคนจึงควรช่วยกันอนุรักษ์เสือโคร่งให้อยู่คู่ป่า เพื่อให้ป่าช่วยลดโลกร้อนสืบต่อไป

ที่มา :

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02CYDLNty7chd126CBsvY6uYe328WQAiB1NtTD2S8hCudugwYR5iGCrQD8Es9Vc3GNl&id=100064392953323&mibextid=Nif5oz

https://www.wikipedia.com

Image by vladimircech on Freepik