เกิดอะไรขึ้น หลังจากกรุงเทพฯปลอดฝนมานาน

15 ก.พ. 66 นายสรรเสริญ เรืองฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตดุสิต โพสต์ลงทวิตเตอร์เกี่ยวกับฝนที่ตกวันนี้และมีผลกระทบต่อสภาพน้ำในคลองว่า
“ฝนที่ตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หลังจากปลอดฝนมานาน จะทำให้มีน้ำฝนที่ชำระ ชะล้างสิ่งสกปรก สิ่งปฏิกูล ในท่อระบายน้ำของบ้านเรือน ชุมชน ออกมาสู่คู คลองทางน้ำสาธารณะ จะทำให้เกิดภาวะ First flush* ค่า BOD* ของน้ำในคลองจะมีค่าสูงแบบก้าวกระโดด อาจมีปัญหาน้ำเน่าเสีย ปลาตาย ได้อีกนะครับ”

ที่มา https://twitter.com/sunsernr/status/1625673093426585600?t=DPBNF1NDXdveHU8261lD1A&s=19

First flush คือ การไหลบ่าของพายุฝน ในระหว่างนี้ มลพิษทางน้ำที่ไหลเข้าสู่ท่อระบายน้ำในพื้นที่ที่มีสัดส่วนของพื้นผิวที่ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้สูง โดยทั่วไปจะมีความเข้มข้นมากกว่าเมื่อเทียบกับส่วนที่เหลือ ดังนั้นการไหลบ่าของน้ำในเมืองที่มีความเข้มข้นสูงเหล่านี้ส่งผลให้มีการปล่อยขยะมลพิษในระดับสูงจากท่อระบายน้ำทิ้งสู่ผิวน้ำที่รองรับน้ำในท่อระบายน้ำ ลำคลอง และแม่น้ำ 

BOD (Biochemical Oxygen Demand) คือ ค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลชีพใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์

ค่าบีโอดีจึงสามารถบอกถึงลักษณะของน้ำเสียได้ว่ามีความสกปรก (ในรูปสารอินทรีย์) มากหรือน้อยแค่ไหน

น้ำเสียที่มีค่าบีโอดีสูง เมื่อถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำ จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำลดลง จนอาจเกิดสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้น้ำนั้นเน่าเสียได้

ค่า BOD มีหน่วยเป็น ปริมาณออกซิเจน (ml) ที่แบคทีเรียใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ที่ใช้ในการบ่มที่อุณหภูมิ 20 °C เป็นระยะเวลา 5 วัน