เสื้อผ้าเสมือนจริงช่วยแก้ปัญหาขยะแฟชั่นได้อย่างไร

แฟชั่นชั่วคราว(Ephemeral Fashion) อาจดูเป็นเรื่องแปลกสำหรับ Blockchain 

(Blockchain คือ ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่นๆในอนาคต โดยไม่มีตัวกลางคือสถาบันการเงินหรือสำนักชำระบัญชี นั่นก็คือระบบ Blockchain จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมานั่นเอง จึงเท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำธุรกรรมต่างๆ โดยการตัดตัวกลางอย่างสถาบันการเงินที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ออกไป ทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมถูกลงและอาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินที่เป็นตัวกลาง รวมไปถึงสำนักชำระบัญชีต่างๆอาจไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไปในอนาคต หากเทคโนโลยีนี้เข้ามาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์)

เครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีดังกล่าวจะนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมแฟชั่นเพื่อลดขยะและผลักดันแฟชั่นไปสู่อนาคต

บริษัท Lablaco ของอิตาลีได้ร่วมกับแบรนด์แฟชั่นเฮาส์และแบรนด์ต่างๆ เพื่อทำให้คอลเลกชั่นของพวกเขาเป็นแบบดิจิทัลในตลาดแฟชั่น “phygital*” ที่กำลังเติบโต — เมื่อลูกค้าซื้อทั้งสินค้าแฟชั่นที่จับต้องได้และ ฝาแฝดดิจิทัล (Digital Twin หรือ ฝาแฝดดิจิทัล คือแบบโมเดลจำลองเสมือนจากวัตถุทางกายภาพ ทำให้สามารถทำงานได้เหมือนกับวัตถุจริง) ซึ่งออกแบบให้สวมใส่โดยอวตารในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เช่น metaverse

Lablaco ก่อตั้งขึ้นในปี 2559 โดย Lorenzo Albighi และ Eliana Kuo ทั้งคู่มีพื้นฐานมาจากแฟชั่นหรูหรา แต่กำลังมองหาวิธีปรับปรุงและมองหาความยั่งยืนของอุตสาหกรรมและส่งเสริมแฟชั่นหมุนเวียน(แฟชั่นหมุนเวียน =Circular Fashion ได้รับการพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นวงจรในระบบการผลิตและการบริโภค นั่นคือทรัพยากรที่ใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้าจะได้รับการใช้งานอย่างยาวนานและคุ้มค่า เพื่อลดการเกิดขยะแฟชั่น) ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติในการออกแบบและผลิตเสื้อผ้าที่ลดขยะบนโลก

ทั้งคู่เปิดตัว Circular Fashion Summit ในปี 2562 และ Lablaco ทำงานร่วมกับผู้ค้าปลีก H&M เพื่อแนะนำบริการเช่าเสื้อผ้าบนบล็อกเชนในปี 2564

การผลักดันแฟชั่นเข้าสู่ระบบดิจิทัลช่วยสร้างข้อมูลที่มีความสำคัญต่อความพยายามที่จะก้าวไปสู่แฟชั่นแบบหมุนเวียน พวกเขาแสดงให้เห็นด้วยโมเดลของ Lablaco ดิจิทัลจะยังคงถูกใช้จนหลังการขาย ดังนั้นหากมีการขายต่อของที่จับต้องได้ สิ่งของที่เทียบเท่าดิจิทัลจะถูกโอนไปยังกระเป๋าสตางค์ดิจิทัลของเจ้าของใหม่ ความโปร่งใสของเทคโนโลยีบล็อกเชนหมายความว่าเจ้าของใหม่สามารถมั่นใจในความถูกต้องและเราสามารถติดตามเส้นทางหลังการขายได้

“หากคุณไม่ทำผลิตภัณฑ์ให้เป็นดิจิทัล คุณจะไม่มีข้อมูลใด ๆ ที่จะวัดได้ และคุณไม่รู้ว่าอะไรคือผลกระทบของแฟชั่น” Albrighi กล่าวกับ CNN Business

ลดของเสียหรือขยะ

อุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นสร้างขยะประมาณ92 ล้านตันต่อปี และแฟชั่นดิจิทัลอาจมีบทบาทในการลดตัวเลขดังกล่าว

Kuo กล่าวว่าระบบดิจิทัลสามารถใช้เป็นฐานทดสอบสำหรับโลกจริงได้ ตัวอย่างเช่น นักออกแบบสามารถปล่อยเสื้อผ้าดิจิทัล 10 สีใน metaverse และใช้ข้อมูลการขายเพื่อแจ้งว่าจะใช้สีใดน่าจะขายได้ดีสำหรับเวอร์ชั่นจริง “มันจะกลายเป็นโมเดลตามความต้องการโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถลดขยะทางแฟชั่นได้จริงๆ” เธอกล่าว

การได้ทดลองสวมเสื้อผ้าเสมือนจริงนั้นยังสามารถลดปริมาณเสื้อผ้าที่ส่งคืนในโลกจริงได้อีกด้วย Albighi กล่าว เขาเสริมว่าการแสดงแฟชั่นโชว์ในพื้นที่เสมือนจริงช่วยลดความจำเป็นในการเดินทางของโลกแฟชั่น การแทรกแซงทั้งสองมีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของอุตสาหกรรม

แต่เพื่อให้นวัตกรรมเหล่านี้แพร่หลาย Albighi กล่าวว่าการสร้างแรงจูงใจให้กับนักออกแบบคือกุญแจสำคัญ ด้วยโมเดล phygital* ความโปร่งใสของ blockchain อาจทำให้แบรนด์ต่างๆ ได้รับค่าลิขสิทธิ์เมื่อสินค้าถูกซื้อรูปแบบต่อตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งเป็นวิธีการ “ผลิตน้อยลงและสร้างรายได้มากขึ้น”

“มันเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมใหม่” เขากล่าว

ที่มา  https://edition.cnn.com/2022/12/22/tech/lablaco-blockchain-digital-fashion-spc


*Phygital เกิดจากการนำ Physical มารวมกับ Digital คือการผสมผสานระหว่างการทำการตลาดแบบดิจิทัล (digital ) หรือออนไลน์ และ การตลาดแบบหน้าร้าน (physical) รวมเข้าด้วยกัน เพื่อเชื่อมต่อประสบการณ์การซื้อขายและเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ โดยสามารถทำได้ผ่านหน้าร้านไปสู่ออนไลน์ หรือจากออนไลน์ไปสู่หน้าร้าน