กลิตเตอร์ หรือกากเพชร ส่วนผสม Micro Plastic ตัวทำลายระบบนิเวศ

กากเพชร หรือกลิตเตอร์ ฟุ้งฟิ้ง วิบวับ แวววาว สีสันช่างดึงดูดตา ดึงดูดใจเสียนี่กระไร ที่เราเห็นบ่อยๆ ตามเครื่องประดับ ตกแต่ง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง นอกจากนี้เรายังนำมาตกแต่งอาหารได้ด้วย

กลิตเตอร์มีกี่แบบกันนะ
กลิตเตอร์ หรือกากเพชร มีสองแบบ

แบบแรกเป็นแบบทานได้ ที่เรานำมาตกแต่งอาหารนั้น จะทำมาจากแป้งข้าวโพด น้ำตาล และสีผสมอาหารแบบแวววาว ที่ผ่านการทดสอบแล้วนะว่าทานแล้วปลอดภัย เหมาะที่จะใช้ตกแต่งพวกคัพเค๊ก โดนัท หรือคุกกี้ ขนมอบอื่นๆ

แบบที่สอง จะเป็นแบบ Micro Plastic จะมีส่วนประกอบพลาสติกขนาดเล็ก ถ้าเรากินเข้าไปจะผลกระทบกับร่างกาย เพราะพลาสติกพวกนี้จะปนเปื้อนโลหะ หรือสารเคมี และถ้าหลุดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ก็จะทำให้เกิดผลกระทบกับปอด อาการระคายเคือง ทำให้หายใจไม่ออก

แล้วกากเพชร ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศยังไง

เพราะเคยเกิดกระแสเทรนด์ การกินกากเพชรที่เป็นแบบ Micro Plastic เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วในต่างประเทศ เพื่อให้อุจจาระที่ปนมากับกากเพชร มีสีสันเปล่งประกาย ซึ่งแพทย์ได้เตือนว่าอันตรายมาก ส่งผลกระทบกับร่างกายในระยะยาว

แน่นอนว่าใคร ๆ ก็อยากสวย ทุกวันนี้แฟชั่นการแต่งหน้า มักจะมี กลิตเตอร์ หรือกากเพชรเป็นส่วนประกอบในการแต่งหน้า เพื่อเพิ่มสีสันประกายแวววาว ไม่ว่าจะเป็น บลัชออน ลิปสติก แต่งขอบตา แต่เรารู้หรือไม่ ความสวยแบบนี้ มันทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง และเนิ่นนานอย่างที่เราคาดไม่ถึง

ในปี พ.ศ. 2561 นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอังกฤษ เรียกร้องให้มีการระงับการใช้และให้ร้านค้างดขายผงกากเพชร เพราะไปเจอในท้องของปลาและนก ในมหาสมุทร เนื่องจากมีการสำรวจแล้วพบว่าในแถบทะเลมีการพบขยะเป็นตัน ๆ ที่ส่วนผสม Micro Plastic

ตอนนี้กากเพชรเป็นปัญหาขยะประเภท Micro Plastic ที่ยังไม่สามรถจัดการได้ เพราะเล็ดรอดลงสู่แหล่งน้ำได้ง่ายมาก ถ้าเป็นไปได้ควรงดใช้ของที่มีกากเพชรผสมอยู่จะดีที่สุด แต่โชคดีที่ในประเทศไทย เครื่องสำอางทีทมีกากเพชร ยังมีไม่มาก

5. การแยกขยะประเภทนี้ แนะนำให้แยกทิ้งออกมาในขยะอันตราย เช่น เมกอัพที่มีส่วน ผสมของกากเพชร และตัวรีมูฟเวอร์หลังจากเช็ดเครื่องสำอางแล้ว