รูปถ่ายภาพเก่าปราสาทหินพิมายเมื่อปี พ.ศ. 2540

ในอดีตผู้เขียน ทำงานบริษัทท่องเที่ยว และได้มีโอกาศไปเอาท์ติ้งที่ จ.นครราชสีมา เป้าหมายของเราคือ ปราสาทพิมาย อ.พิมาย ภาพถ่ายเมื่อปี 2540 ช่วงสงกรานต์ ขึ้นปีใหม่ไทยพอดี ภาพถ่ายเก่าๆ มีความหมาย และยังใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ด้วย

ภาพแรก เป็นกลุ่มปราสาทประธาน

ภาพที่สอง หน้าบันทิศเหนือ

ภาพที่สาม ทับหลัง-นางโยคินี


อุทยานประวัติศาตร์ปราสาทหินพิมาย

เป็นพุทธสถาน และเป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติพร้อมกับการเริ่มบูรณะในปี พ.ศ. 2494

และ พ.ศ. 2497 มีการบูรณะปรางค์ประธาน งบประมาณการบูรณะได้รับมาจากรัฐบาลฝรั่งเศส แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2507 – 2512 และได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวิติศาตร์พมาย ในปี พ.ศ. 2532 

ประวัติปราสาทหินพิมาย

ตามประวัติของ ปราสาทหินพิมาย คาดว่าสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1725 – 1763) ซุ้มประตูมี 3 คูหา ที่คูหากลางทางทิศตะวันตกจะมีทับหลังศิลาสลักเป็นรูปขบวนแห่ มีพระพุทธรูปนาคปรกประดิษฐานเหนือคานหาม เป็นศิลปะขอมแบบปาปวน สลักราวพุทธศตวรรษที่ 17

ความน่าสนใจ

ตัวกำแพงสร้างด้วยศิลาทรายสีแดง ล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีประตูซุ้มทั้งสี่ทิศ ช่องประตูซุ้มอยู่ตรงกัน ประตูซุ้มใหญ่สุดอยู่ทางทิศใต้เพราะแต่เดิมมีถนนตัดจากประเทศกัมพูชามาทางทิศใต้

ถัดจากซุ้มประตูเข้าไปเป็น ลานชั้นนอก มีสระน้ำอยู่ 4 มุม ทางทิศตะวันตกมีซากปราสาทหลังหนึ่ง คาดว่าเป็นตำหนักสำหรับพระมหากษัตริย์ใช้ประทับในการประกอบพิธี หรืออาจจะเป็นหอไตรที่ใช้ในการเก็บตำราทางศาสนา 

จากลานชั้นนอกถึงระเบียงคต มีหลังคามุงด้วยแผ่นศิลารูปเรือประทุน ต่อจากระเบียงคต จนถึงลานชั้นใน จะเป็นที่ตั้งของปรางค์ 3 องค์ ได้แก่

ปรางค์พรหมทัต อยู่ทางทิศตะวันออก สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 – 1761) 

ภายในปรางค์พบประติมากรรมศิลารูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ ชาวบ้านเรียกว่า ท้าวพรหมทัต นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นผู้หญิงนั่งคุกเข่าที่ชาวบ้านเรียกว่า นางอรพิมพ์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าในท้องถิ่น กลายเป็นชื่อบ้านนามเมือง ในย่านพิมาย เช่นคำว่า พี่ชายมา เชื่อกันว่าเป็นที่มาของชื่อ “พิมาย”  เล่ากันว่า นางอรพิมพ์ เป็นลูกสาวชาวบ้านหน้าตาสะสวย อายุ 16 ปี อยู่กินกับปาจิตต แห่งเมืองพรหมพันธุ์นคร ช่วงที่สามีไม่อยู่ พรหมทัตกุมารกษัตริย์ ได้เสด็จประพาสป่ามา เจอนางอรพิมพ์ จึงได้เอานางไปอยู่ด้วย แต่เมื่อพรหมทัตกุมารเข้าใกล้นางจะร้อนเป็นไฟ 

เมื่อปาจิตตกุมารกลับมาได้ออกตามหาและแกล้งบอกว่า เป็นพี่ชายมาพบน้องสาว นางอรพิมพ์จึงบอกกับพรหมทัตกุมารว่า” พี่ชายมา” ทำให้ปลิดชีวิตพรหมทัตกุมารได้สำเร็จแล้วพากันหนีออกมาได้ จึงเป็นเรื่องเล่าขานกันสืบมา

ปรางค์หินแดง อยู่ทางทิศตะวันตก ตั้งอยู่ด้านขวาของปรางค์ประธาน ก่อด้วยหินทรายสีแดง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17

ในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 2 ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย และ ได้พบศิวลึงค์ในหอพราหมณ์ ซึ่งตั้งอยู่ติดกับปรางค์หินแดงถึงเจ็ดองค์ สันนิษฐานว่าจะเป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ บรรณาลัย เป็นอาคารก่อด้วยหินทราย สีแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ตั้งอยู่ใกล้ซุ้มประตูทิศตะวันตก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่เก็บรักษาตำราทางศาสนา หรืออาจจะเป็นที่ประทับของกษัตริย์ที่เสด็จมาทรงประกอบพิธีกรรม

ปรางค์ประธาน เป็นปรางค์องค์ใหญ่ที่สุด ก่อด้วยศิลาปูนและศิลาทราย สร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17

หันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทขอมแห่งอื่นๆ สันนิษฐานว่าหันไปทางเมืองพระนคร สลักลวดลายต่างๆ เช่น ลายกลีบบัว ลายประจำยาม ก่อด้วยหินทรายสีขาวทำเป็นชั้นซ้อนขึ้นไปห้าชั้น ส่วนยอดสลักเป็นรูปครุฑแบกทั้งสี่ทิศ 

เหนือขึ้นไปสลักเป็นรูปเทพประจำทิศต่างๆและรูปดอกบัว ทับหล้งและหน้าบันที่ประดับองค์ปรางค์ประธานส่วนใหญ่เล่าเรื่องรามายณะ และคติความเชื่อในศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ เช่นหน้าบันทิศใต้ หรือด้านหน้าก่อนเดินเข้าในองค์ปรางค์เป็นภาพศิวนาฏราชหรือพระศิวะฟ้อนรำ 108 ท่าในศาสนาฮินดูเชื่อว่า เมื่อใดที่พระศิวะฟ้อนรำผิดจังหวะ เมื่อนั้นโลกจะเกิดกลียุค 

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่แสดงให้ว่าปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นเพื่อพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน เพราะมีทับหลังอยู่ 4 ชิ้นทีอยู่ใกล้ชิดปรางค์ประธานที่สุด แสดงถึงเรื่องราวที่บ่งชี้ไปในทางพุทธศาสนา เช่น 

  1. ด้านทิศใต้ มีภาพจำหลักแนวบนเป็นพระพุธรูปนาคปรก ประทับระหว่างกลางพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ 6 องค์ แนวล่างเป็นอุบาสิกานำของมาถวาย
  2. ด้านทิศตะวันตก มีภาพจำหลักเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง โดยมีกษัตริย์นั่งเฝ้าอยู่ข้างๆ พร้อมบริวาร แนวล่างเป็นพนักงานชาวประโคมฟ้อนรำ
  3. ด้านทิศเหนือ ภาพแนวบนเป็นรูปเทวดา 3 พักตร์ 6 กร 5 องค์ เข้าใจว่าเป็นพระโพธิสัตว์ประจำองค์อาธิพุทธเจ้าในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
  4. ด้านทิศตะวันออก ที่เด่นคือ ภาพแนวบนเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ10 องค์ ประทับนั่งเรียงแถวในเรือนแก้ว แนวล่างเป็นเทพบุตรและเทพธิดากำลังฟ้อนรำ

ที่ตั้งและการเดินทาง  

ตั้งอยู่ในอำเภอพิมาย ห่างจากตัวเมืองนครราชสสีมา ประมาณ 60 กม.

เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองนครราชสีมาใช้ถนนมิตรภาพ หรือทางหลวงหมายเลข 2 โคราช-ขอนแก่น ประมาณ 50 กม.พบทางแยกตลาดแคให้เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 206 อีก 10 กม.จะถึงปราสาทหินพิมายซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย

เดินทางโดยรถประจำทาง ขึ้นรถโดยสารโคราช-พิมาย ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 ในตัวเมืองโคราชมีทั้งรถปรับอากากาศและรถธรรมดา รถจอดหน้าปราสาทหินพิมาย