ผู้ชายควรรู้ไว้ คุณก็เป็นมะเร็งเต้านมได้ 

แม้โอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้ชายจะมีอัตราส่วนที่น้อยมากๆ จึงทำให้ผู้ชายมักมองข้ามและไม่ใส่ใจเกี่ยวกับเรื่องมะเร็งเต้านม แต่ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติก็มีการออกมาเตือนว่าที่จริง “ผู้ชาย” ก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ เนื่องจากผู้ชายก็มีเต้านมเช่นกัน 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม มีดังนี้ 

  1. เมื่ออายุ มากขึ้น เซลล์ต่างๆในร่างกายที่เสื่อมลง ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูง  นี่จึงเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ชายอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม 
  2. พันธุกรรม ผู้ชายที่มีประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัว 2 ใน 10 คน พบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนส์ (BRCA 1) ในร่างกาย และยีนส์ที่ผิดปกติตัวนี้ สามารถส่งต่อได้ทางพันธุกรรมได้ 
  3. ความอ้วน หรือมีไขมันในช่วงท้องสูง มีโอกาสสูง ที่จะเกิดความผิดปกติของโปรตีนในร่างกาย และทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมได้
  4. ยาฮอร์โมน คนไข้ที่รักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยใช้ฮอร์โมน หรือในกลุ่มเพศที่ 3 ที่เทคฮอร์โมน เพื่อต้องการเพิ่มลักษณะของความเป็นผู้หญิงมากขึ้น ไม่ว่าจำแปลงเพศแล้ว หรือยังไม่แปลงเพศ ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม จากการใช้ยาฮอร์โมน
  5. โรคทางพันธุกรรม โรคบางอย่างที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนเพศชาย หากฮอร์โมนเพศชายมีน้อย จะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม 
  6. สภาพแวดล้อม การได้รับสารเคมีในสภาวะแวดล้อมต่างๆ อาจส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย เช่น สารโลหะหนัก หรือสารบางอย่างที่มาในรูปแบบของอาหาร หรือรังสีต่างๆ ก็เป็นได้

การดูแลรักษามะเร็งเต้านมในผู้ชาย 

การใช้ยาฮอร์โมนบำบัดบางชนิด ในการรักษา เพื่อช่วยในการชะลอการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง อาจจำเป็นที่จะต้องทานทุกวัน เป็นเวลา 2-5 ปี  

นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องทำการรักษาควบคู่กับการทำเคมีบำบัด การผ่าตัดต่างๆ หรือใช้การฉายรังสี เข้ามาช่วยในการรักษา

สัญญาณของโรคมะเร็งเต้านม 

อาการที่บ่งบอกว่าก้อนเนื้อที่อกผู้ชายจะกลายเป็นมะเร็งนั้น ก็มีลักษณะคล้ายกับการพบก้อนเนื้อในผู้หญิง นั่นคือ

การคลำพบก้อนแข็งที่เต้านม เมื่อบีบแล้วไม่รู้สึกเจ็บ

หัวนมมีความผิดปกติ เช่น หัวนมยุบบุ๋ม หัวนมบอด เป็นผื่นหรือแผลเรื้อรัง มีสีแดงจนผิดสังเกต มีของเหลว เช่น น้ำหรือเลือดออกมจากเต้านม 

ผิวหนังบริเวณเต้านมมีรอยบุ๋ม มีรอยเหี่ยวย่น หรือมีรอยแดง

อาการของผู้ป่วยในระยะลุกลาม

ปวดกระดูก

รักแร้มีอาการบวมเนื่องจากการลุกลามของมะเร็งที่เข้าสู่ระบบต่อมน้ำเหลือง 

เหนื่อยกว่าปกติ

หายใจหอบถี่ 

คลื่นไส้

ตัวเหลือง ตาเหลือง

การป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรค

อันดับแรก หากมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชาย แนะนำให้มีการสำรวจและตรวจเต้านมด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะหากตรวจพบว่ามียีนส์พันธุกรรมเสี่ยงมะเร็ง ควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านมปีละ 1 ครั้ง

งดหรือจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้อยู่ในปริมาณน้อย

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์และครบหมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา : 

https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=4124

https://hhcthailand.com/male-breast-cancer/

Image by Freepik