ร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเอาชนะวิกฤติสภาพภูมิอากาศ

พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) คืออะไร 

พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึงลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร

พื้นที่ซึ่งมีลักษณะจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงรวมถึง ห้วย หนอง คลอง บึง บ่อ กระพัง (ตระพัง) บาราย แม่น้ำ ลำธาร แคว ละหาน ชานคลอง ฝั่งน้ำ สบธาร สระ ทะเลสาบ แอ่งลุ่ม กุด ทุ่ง กว๊าน มาบบุ่ง ทาม สนุ่น แก่ง น้ำตก หาดหิน หาดกรวด หาดทราย หาดโคลน หาดเลน ชายทะเล ชายฝั่ง ทะเล พืดหินปะการัง แหล่งหญ้าทะเล แหล่งสาหร่ายทะเล คุ้ง อ่าว ดินดอนสามเหลี่ยม ช่องแคบ ชะวากทะเล ตะกาด หนองน้ำกร่อย ป่าพรุ ป่าเลน ป่าชายเลน ป่าโกงกาง ป่าจาก ป่าแสม รวมทั้งนาข้าว นากุ้ง นาเกลือ บ่อปลา อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น”

ความสำคัญ : พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีสภาพสมบูรณ์มีความสำคัญโดยเป็นผู้พิทักษ์ตามธรรมชาติในการต่อต้านมลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

  • พื้นที่ชุ่มน้ำดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศและกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าระบบนิเวศอื่นๆ บนโลก
  • พื้นที่พรุกักเก็บคาร์บอนจากพื้นดินประมาณ 30% ซึ่งคิดเป็นสองเท่าของปริมาณป่าไม้ทั้งหมดบนโลก
  • ระบบนิเวศชายฝั่ง (Coastal blue carbon ecosystem) เช่น ป่าชายเลน แนวหญ้าทะเล ที่ลุ่มน้ำเค็ม สามารถดักจับและกักเก็บคาร์บอนในตะกอนได้เร็วกว่าป่าดิบชื้นถึง 55 เท่า
  • พื้นที่ชุ่มน้ำช่วยปกป้อง 60% ของผู้ที่อาศัยตามแนวชายฝั่งจากพายุซัด เฮอริเคน และสึนามิ
  • พื้นที่ชุ่มน้ำ 1 เอเคอร์ สามารถกักเก็บน้ำท่วมขังได้มากถึง 1.5 ล้านแกลลอน
  • พื้นที่ชุ่มน้ำมีความเสี่ยงสูงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ
  • พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของการวางแผนการการปรับตัวและฟื้นฟูเมือง อีกทั้งเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญต่อสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)
  • การตอบสนองต่อความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ จำเป็นต้องอาศัยการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างจริงจังและการฟื้นฟูตลอดทั่วทั้งสังคม

ร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อเอาชนะวิกฤติสภาพภูมิอากาศ และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ที่มา : 

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

www.worldwetlandsday.org

http://wetland.dwr.go.th/

Image by vecstock on Freepik