สนธิสัญญาพลาสติกโลก (Global treaty on plastic) คืออะไร

สนธิสัญญาพลาสติกโลก (Global treaty on plastic) จะมีการประกาศใช้โดย 175 ประเทศ ในปี 2568 มีเป้าหมายเพื่อลดมลพิษพลาสติกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2040 และจำกัดการสัมผัสไมโครพลาสติกทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางหรือต่ำ และกลุ่มเด็ก 

ทั้งนี้สนธิสัญญาฉบับนี้ยังอยู่ในกระบวนการร่างแผนงานขณะเดียวกันในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยซึ่งได้เริ่มนำร่องแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก ด้วยการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และถุงพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

รู้หรือไม่หากเราใช้พลาสติกมากเท่าใด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกยิ่งถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้นเท่านั้น 

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ คาดว่ามีขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastics) ประมาณปีละ 3.03 ล้านตัน ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด (ร้อยละ 11.25)

มีการนำขยะพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณ ปีละ 0.75 ล้านตัน (ร้อยละ 25) (ปี 2565 นำขยะพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์เฉลี่ยประมาณ ปีละ 0.71 ล้านตัน) ส่วนที่เหลือ 2.18 ล้านตัน (ร้อยละ 72) จะถูกนำไปกำจัดโดยการฝังกลบรวมกับขยะมูลฝอยอื่นๆ อีก 0.09 ล้านตัน (ร้อยละ 3) ไม่ได้รับการจัดการและตกค้างในสิ่งแวดล้อม

​ขยะพลาสติกนอกจากส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย 

งานวิจัยของ ดร.ราฟฟาเอล มาร์เฟลลาจากมหาวิทยาลัยกัมปาเนีย ในอิตาลี พบว่า 58% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาหลอดเลือดแดงคาโรติด ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ใบหน้า และลำคอ มีชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กทั้งระดับไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบโพลีเอทิลีน (PE) และโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ปะปนอยู่ในหลอดเลือด 

จากการติดตามผลหลังจากผ่านไป 34 เดือน พบว่า 20% ของผู้ที่มีพลาสติกในหลอดเลือดแดงมีอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือเสียชีวิตจากสาเหตุใด ๆ สูงกว่าคนที่ไม่มีพลาสติกในร่างกายถึง 4.5 เท่า โดยไม่รวมพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่าผู้ป่วยที่มีพลาสติกในไขมันภายในหลอดเลือดแดง และอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง และเสียชีวิตได้มากกว่าด้วยเช่นกัน

ช่วยลดพลาสติก กู้วิกฤตโลกเดือด ด้วย 4 ป

1. ปฏิเสธพลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

2. ปรับพฤติกรรมใช้พลาสติกให้คุ้มค่าที่สุด

3. เปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ

4. แปลงร่างเพิ่มมูลค่าให้กับขยะพลาสติก

ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/PfnwoKzDrigfANdJ/?mibextid=oFDknk

Image by freepik