กรุงเทพฯมหานครกับอนาคตคลองโอ่งอ่าง จากการ ‘จัดกิจกรรม’ สู่การเชื่อมต่อ ‘ย่าน’ อย่างยั่งยืน

คลองโอ่งอ่าง ในปี พ.ศ. 2564 ถือได้เป็นแลนด์มาร์กที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวไทยมาก มีผู้คนต่างเดินทางไปเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์กันอย่างคึกคัก กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร ทั้งรูปแบบถนนคนเดิน จุดพายเรือคายัค สตรีทอาร์ต แต่ปัจจุบันสภาคลองโอ่งอ่างเริ่มเงียบเหงา 

กรุงเทพมหานครจึงมีความมุ่งมั่นพัฒนาคลองโอ่งอ่างอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีของชุมชน เพราะคลองโอ่งอ่างกำลังก้าวสู่ก้าวใหม่ ก้าวที่จะเดินไปพร้อมกับชุมชน ผู้คน ก้าวใหญ่ที่ไม่ใช่แค่การจัดกิจกรรมชั่วคราวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่เป็นการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยไอเดียของคนในพื้นที่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ตลอดหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา กทม. มีการทำกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน เชื่อมต่อประชาชนเข้ามาทำงานร่วมกันกับภาครัฐ  และเน้นจัดกิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชนเป็นหลัก เช่น งานลอยกระทงดิจิทัล งานดิวาลี งานไหว้พระจันทร์ Bangkok Design Week การเปิดพื้นที่ให้ระบายสีบน Street Art ไปจนถึงการเปิดพื้นที่ศิลปินเปิดหมวกผ่านโครงการ Bangkok Street Performer และการเปิดพื้นที่ถ่ายทำ MV ของวง BNK48 ในเพลง สัญญานะ เพื่อแนะนำคลองโอ่งอ่างให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้นในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร

ปัจจุบัน กทม. มุ่งสร้างถนนคนเดินเลียบคลองโอ่งอ่างให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่มีการเชื่อมต่อระหว่างแต่ละย่านในเมืองเก่า ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

สร้างเสร็จแล้ว: สะพานโอสถานนท์ (สำเพ็ง) – MRT สามยอด

กำลังสร้าง (เสร็จสิ้นราว กันยายน 2567): MRT สามยอด – ป้อมมหากาฬ (ผ่านฟ้า)

แผนงานในอนาคต: ป้อมมหากาฬ (ผ่านฟ้า) – ป้อมพระสุเมรุ (บางลำพู)

มาตรการฟื้นฟูการท่องเที่ยว

ระยะสั้น (2 เดือน): จัดกิจกรรมและเทศกาลเป็นประจำทุกวันเสาร์อาทิตย์สุดท้ายของเดือน

ระยะกลาง (4 เดือน): ประเมินผล ปรับรูปแบบกิจกรรม ประชุมกับชุมชนและผู้ค้า หาแนวทางต่อยอดถนนคนเดินอย่างยั่งยืน

ระยะยาว (6-8 เดือน): ทดลองให้ชุมชนบริหารจัดการ ประเมินผล และขยายผลเพื่อการพัฒนาพื้นที่อื่นต่อไป

มารอติดตามอนาคตครั้งใหม่ของคลองโอ่งอ่างไปด้วยกัน

ที่มา :https://www.facebook.com/bangkokbma?mibextid=ZbWKwL

โดย Kritkung Minecraft – งานของตัว, CC BY-SA 4.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=98039838