ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่แปรเปลี่ยนไป ปัญหาใหญ่ที่มวลมนุษยชาติกำลังเผชิญหน้าในทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่เราทุกคนบนโลกในนี้ต้องช่วยกันแก้ไข และรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน

ภัยพิบัติจาก Climate Change

เราสงสัยกันบ้างไหมว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้โลกแย่ลงอย่างไร? ผลกระทบได้สร้างความเสียหายและทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ได้ลุกลามไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศอย่างต่อเนื่องเป็นแบบลูกโซ่ เสี่ยงต่อการเกษตร สุขภาพของมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน การดำรงชีวิต และเศรษฐกิจของทั้งโลก เห็นได้จากเหตุการณ์ดังนี้

1.อากาศสุดขั้ว

– สภาพอากาศโดยเฉลี่ยร้อนขึ้นตามอุณภูมิโลกที่สูงขึ้น ทำให้ฤดูร้อนยาวนาน ฤดูหนาวจะสั้นลง พายุมีความรุนแรงและฝนตกหนัก รวมทั้งเกิดภัยแล้งที่ดีขึ้น

2.คลื่นความร้อน (Heat Wave)

– ในช่วงฤดูร้อนเขตอบอุ่นแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ อุณหภูมิจะสูงขึ้นเกือบ 50° C อากาศร้อนอบอ้าวหลายสัปดาห์ และยังทำให้เกิดไฟป่าเผาทำลายพืชและสัตว์อย่างกว้างขวาง

3.ภัยแล้งซ้ำซาก

– ปรากฎการณ์เอลนีโญและลานีญา ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ฝนตกหนัก ทวีความรุนแรงและถี่ขึ้นถึง 2 เท่าในช่วง 100 ปี

4.หิมะถล่มเมือง

– ทวีปอเมริกาเหนือและตอนเหนือของยุโรปอาจเกิดปรากฎการณ์หนาวสุดขั้ว อุณหภูมิติดลบต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง หิมะตกต่อเนื่องยาวนาน

5.พายุหมุนขนาดยักษ์

– น้ำทะเลในมหาสมุทร มีอุณหภูมิสูง ทำให้เกิดพายุหมุนเขตร้อน เช่น ไต้ฝุ่น เฮอริเคน ไซโคลน ถี่และรุนแรง กลายเป็นซูเปอร์พายุหมุน (Superstorm) ที่ก่อภัยพิบัติน้ำท่วมและดินถล่ม

6.น้ำท่วมโลก

– เกิดจากน้ำแข็งขั้วโลกละลายลงสู่ทะเลและมหาสมุทร ทำให้ระดับน้ำทะเลสูง เมืองที่อยู่ติดชายทะเลอาจจมอยู่ใต้น้ำ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น

7.กระแสน้ำมหาสมุทรแปรปรวน

– การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ทำให้การไหลเวียนของกระแสน้ำอุ่น และกระแสน้ำเย็นเคลื่อนที่ช้าลง ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนบกและสัตว์ในทะล

8.ทะเลเป็นกรด

– น้ำทะเลมีความเป็นกรดสูง สภาวะทางเคมีเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในระบบนิเวศทางทะเลต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่

9.พืชและสัตว์สูญพันธุ์

– เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ระบบนิเวศเสื่อมโทรม สิ่งมีชีวิตบนบกดำรงชีวิตบนบกดำรงชีวิตได้ยาก ทั้งการผลัดใบผลิดอกของพืช การอพยพย้ายถิ่นของสัตว์ รวมถึงการจับคู่ผสมพันธุ์วางไข่

10.โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ

– การระบาดของโรคร้ายจากเขตร้อน จะแพร่กระจายสู่ภูมิภาคอื่นของโลกง่ายขึ้น ทั้งโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ โรคคอตีบ และเกิดเชื้อโรคชนิดใหม่ เช่น โรคซาร์ส

ที่มา : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม https://www.deqp.go.th/

Image by Freepik 


สหประชาชาติประเทศไทย ได้ให้สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไว้ดังนี้

Image by Freepik

1.การผลิตพลังงาน 

การผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนโดยการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในปริมาณมาก การเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมันหรือก๊าซจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซไนตรัสออกไซด์ออกมา ก๊าซทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีอานุภาพในการห่มคลุมโลกและดักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์

2.การผลิตสินค้า

กิจกรรมในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อให้ได้พลังงานสำหรับการผลิตสินค้าต่างๆ เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก โลหะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก เสื้อผ้า และอื่น ๆ การทำเหมืองแร่และอุตสาหกรรมอื่น ๆ

3.การตัดไม้ทำลายป่า

ในแต่ละปี พื้นที่ป่าประมาณ 75 ล้านไร่ถูกทำลาย การตัดไม้ทำลายป่า การทำเกษตรและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกถึง 1 ใน 4

4.การคมนาคมขนส่ง

รถยนต์ รถบรรทุก เรือ และเครื่องบินส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การขนส่งคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานทั่วโลก 

5.การผลิตอาหาร

การผลิตอาหารทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารก็เช่นกัน เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและแผ้วถางที่ดินเพื่อทำการเกษตรและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ กระบวนการย่อยอาหารของวัวและแกะ เรือประมงส่วนใหญ่ก็มักใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล  บรรจุภัณฑ์อาหารและการกระจายสินค้าอาหารก็ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน

6.การใช้พลังงานในอาคารบ้านเรือน

อาคารพาณิชย์และอาคารที่พักอาศัยใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ทั่วโลก

7.การบริโภคที่มากเกินไป

บ้านและการใช้พลังงานในบ้าน การเดินทาง สิ่งที่คุณรับประทาน และสิ่งที่คุณทิ้ง ทั้งหมดล้วนมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ที่มา: https://thailand.un.org/th/174652