ค่าแรงขั้นต่ำในอดีตจนถึงปัจจุบัน 2565

จากข้อมูลค่าจ้างขั้นต่ำปี 65 อยู่ที่ 354-328 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

คณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมพิจารณาและมีมติการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2565 โดยได้ข้อสรุปร่วมกันในการปรับขึ้นซึ่งแบ่งเป็น 9 อัตรา ได้แก่

จังหวัด

ค่าจ้าง

จังหวัด

1.ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต 

354

 3 

2.กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

353

6

3.ฉะเชิงเทรา

345

1

4.พระนครศรีอยุธยา

343

5.ปราจีนบุรี หนองคาย อุบลราชธานี พังงา กระบี่ ตราด ขอนแก่น เชียงใหม่ สุพรรณบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี

340

14

6.มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร สมุทรสงคราม จันทบุรี และนครนายก

338

6

7.เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี บึงกาฬ ชัยนาท นครพนม พะเยาสุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย พัทลุง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก อ่างทอง สระแก้ว บุรีรัมย์ และเพชรบุรี

335

19

8.อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตรัง ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุทัยธานี ลำปาง ลำพูน ชุมพร มหาสารคาม สิงห์บุรี สตูล แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร ราชบุรี ตาก นครศรีธรรมราช ชัยภูมิ ระนอง และพิจิตร

332

22

9.ยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี

328

5

การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2565 ในครั้งนี้มีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท คิดเป็น 5.02 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ประชุมได้พิจารณากำหนดบนพื้นฐานของความเสมอภาค เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข และเพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

ข้อมูล:thaigov.go.th/news/content/details/58493

ข้อมูลค่าแรงขั้นต่ำประจำปี 2564 ประเทศไทยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันอยู่ระหว่าง 313 บาท ถึง 336 บาท

ส่วนข้อมูลค่าแรงขั้นต่ำประจำปี 2565 ประเทศไทยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันอยู่ระหว่าง 328 บาท ถึง 354 บาท

โดยสรุปแล้วค่าแรงขั้นต่ำประจำปี 2565 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.02% จากปี 2564

จังหวัดที่มีค่าแรงสูงสุดไม่ใช่กรุงเทพมหานคร แต่เป็น ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต

ค่าแรงขั้นต่ำของกรุงเทพมหานครช่วงปีที่มีการปรับค่าแรงมากสุดคือปี 2554(215บาท)-2555(300บาท) ปรับมากขึ้นถึง 39.53% 

จนกระทั่งปี 2556 ค่าแรงขั้นต่ำยังอยู่ที่ 300 บาท และมีการปรับขึ้นอีก 10 บาทในปี 2560จนถึงปี 2561

และในปี 2564(331 บาท)-2565(353 บาท) ปรับขึ้น 12 บาท เท่ากับ 6.65%

เมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเมื่อไหร่ ย่อมส่งผลให้สถานประกอบการมีต้นทุนค่าจ้างเพิ่มขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  นายจ้างต้องเตรียมตัวคือวางแผนควบคุมค่าใช้จ่าย โดยตรวจสอบจำนวนพนักงานที่ได้รับผลกระทบ ประเมินค่าใช้จ่าย หาแนวทางปรับค่าจ้างที่ถูกต้องและเหมาะสม ต้นทุนไม่บานปลายไม่เกิดปัญหาแรงงานตามมา นายจ้างควรเตรียมบริหารจัดการค่าจ้างให้เป็นไปตามกฎมาย