saradeestory

Menu
  • หน้าแรก
  • ข่าว
    • สิ่งแวดล้อม
    • ท่องเที่ยว
    • สาระบันเทิง
    • สาระสุขภาพ
    • บันเทิงเกาหลี
    • สิทธิ สังคม และการเมือง
  • ไลฟ์สไตล์
    • สัตว์
    • อาหาร
    • ข้อคิดคำคม
    • ฮวงจุ้ย
  • บทความต่างประเทศ
    • ภัยพิบัติ
    • ภัยใกล้ตัว
    • เทคโนโลยีและความก้าวหน้า
  • ประวัติศาสตร์
    • บุคคลสำคัญ
  • เกี่ยวกับ-ติดต่อเรา
    • นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว
Home
ข่าว
ประชากรอินเดียใกล้จะแซงหน้าจีนแล้ว
ข่าว

ประชากรอินเดียใกล้จะแซงหน้าจีนแล้ว

26/04/2023
197

สัปดาห์ที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติได้แจ้งให้เราทราบว่าขณะนี้อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกแล้ว จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ ปัจจุบันอินเดียมีประชากร 1.428 พันล้านคน

 เทียบกับจีนที่ตอนนี้ที่มีจำนวน 1.426 พันล้านคน ปัจจัยหนึ่งเกิดจากการที่อัตราการเกิดของจีนลดลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยจำนวนประชากรลดลงในปีที่แล้วเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1961

เมื่อจีนถูกถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนไม่ได้แสดงท่าทีอะไร : เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าข้อมูลของ UN นั้นถูกต้องหรือไม่ 

กรมเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (DESA) ระบุว่า “อีกไม่นาน จีนจะลดสถานะในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกจากที่ถือครองมายาวนาน

แต่ก็มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการประมาณการจำนวนประชากร วันที่เจาะจงที่คาดว่าอินเดียจะแซงหน้าจีนในด้านขนาดประชากรจึงเป็นเพียงค่าประมาณและอาจมีการแก้ไขได้” 

การคาดการณ์ประชากรอินเดียส่วนใหญ่อ้างอิงจากข้อมูลที่มีอายุหลายสิบปี เนื่องจากอินเดียไม่ได้ทำการสำรวจสำมะโนประชากรที่เหมาะสมมาตั้งแต่ปี 2011

ในบางแง่การสำรวจสำมะโนประชากรของอินเดียมีความแม่นยำยิ่งขึ้นในด้านขนาด ประสิทธิภาพในทุก ๆ 10 ปี อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 2020 อินเดียที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ทำให้เลื่อนการสำรวจสำมะโนประชากรออกไปและอ้างว่าตอนแรกจะเปลี่ยนเป็นสำรวจออนไลน์ เหมือนกับที่พยายามทำในสหรัฐฯ เป็นต้น แต่เมื่อสิ่งต่างๆ กลับคืนสู่สภาวะปกติในอินเดียที่เหมือนกับที่อื่นๆ จึงไม่มีสัญญาณของการเตรียมการสำรวจสำมะโนประชากร ไม่ว่าจะทางออนไลน์หรือออฟไลน์

รัฐบาลปัจจุบันของอินเดียได้รับกับข้อมูลเกี่ยวกับประชากรค่อนข้างน้อย การสำรวจและการคำนวณต่างๆ ตั้งแต่บัญชีรายได้ประชาชาติไปจนถึงรูปแบบการบริโภคของครัวเรือนและข้อมูลการทำงานได้ถูกยกเลิกในช่วงเจ็ดปีที่ผ่านมา

ประชากรในอินเดียขึ้นชื่อว่ามีความหลากหลาย การสำรวจสำมะโนประชากรเป็นคำตอบสุดท้ายเกี่ยวกับขนาดสัมพัทธ์ของกลุ่มต่างๆ 

ตัวเลขเหล่านี้ไม่เพียงกำหนดอำนาจในการเลือกตั้งในอินเดียที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระจายรัฐสวัสดิการและการบริการสาธารณะด้วย หากปราศจากการสำรวจสำมะโนประชากรที่แม่นยำ การกำหนดนโยบายของอินเดียก็เหมือนหนทางในความมืด

น่าเสียดายที่องค์ประกอบทางประชากรศาสตร์ของชาวอินเดีย เช่น วรรณะที่พวกเขาเกิด แหล่งที่อยู่อาศัย และการนับถือศาสนาใด กำลังเป็นที่ถกเถียงกันเป็นพิเศษ เช่นการพิจารณาจากระบบวรรณะ ตั้งแต่ ค.ศ. 1931 อินเดียได้กำหนดองค์ประกอบวรรณะที่แน่นอนของประชากร การกำหนดโควตางานและการศึกษาที่จัดสรรไว้สำหรับกลุ่มวรรณะต่างๆ และจากข้อมูลนั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใดๆจากตัวเลขเหล่านี้ก็จะส่งผลกระทบต่อทางการเมืองที่อิงกับวรรณะอย่างแน่นอน และรัฐบาลก็ไม่เต็มใจที่จะทำการนับจำนวนประชากรใหม่อีก

เกี่ยวกับการนับถือศาสนา หากจำนวนชนกลุ่มน้อยเพิ่มขึ้น “มากเกินไป” จะมีเสียงโวยวายจากฝ่ายขวา และนักการเมืองจะบอกชาวฮินดูว่าพวกเขาตกอยู่ในอันตรายทางประชากรศาสตร์ได้ยากขึ้น

ในขณะเดียวกัน การสำรวจสำมะโนประชากรนี้เป็นขั้นตอนแรกในการจัดทำทะเบียนพลเมืองแห่งชาติ แต่เมื่อรวมกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายสัญชาติแล้วก็ทำให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ทั่วประเทศในปี ค.ศ. 2019 เนื่องจากกลัวว่าจะทำให้ชาวมุสลิมอินเดียจำนวนมากเป็นคนไร้สัญชาติ 

และที่อาจเป็นปัญหายิ่งกว่าคือตัวเลขสำหรับกลุ่มภาษาและแหล่งกำเนิดของรัฐ ตามการประมาณการของรัฐบาล ภายในปี ค.ศ. 2041 รัฐพิหารทางตอนเหนือจะมีประชากรเพิ่มจาก 50 ล้านคนเป็น 104 ล้านคน

และการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2011 รัฐทมิฬนาฑูทางตอนใต้จำนวนประชากรเริ่มหดตัวลง ซึ่งเป็นรัฐที่ถูกปกครองโดยพรรคระดับภูมิภาคที่เข้มแข็ง ภาษาพูดต่างจากภาคเหนือ และมีความร่ำรวยกว่ามาก

อย่างไรก็ตาม อัตราการมีบุตรในอินเดียก็ลดลงเช่นกัน เดิมในปี ค.ศ. 1950 ผู้หญิงหนึ่งคนจะมีลูกเฉลี่ย 5.7 คน ปัจจุบันก็ลดลงเหลือ 2.2 คน

ในเดือนพฤศจิกายน 2022 จำนวนประชากรโลกมีมากกว่า 8 พันล้านคนแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญก็มองว่า การเติบโตนั้นไม่ชะลอตัวกว่าในอดีต และปัจจุบันมีอัตราการเติบโตที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950

ที่มา https://www.bloomberg.com


จากเว็บไซต์  worldometers.info 

ประชากรโลกแบ่งตามศาสนา

จากการศึกษาล่าสุด (อ้างอิงจากจำนวนประชากรโลกในปี 2010 จำนวน 6.9 พันล้านคน) โดยThe Pew Forum มีดังนี้

  • คริสเตียน 2,173,180,000 คน (31% ของประชากรโลก) โดยเป็นคาทอลิก = 50% , โปรเตสแตนต์ = 37%,  ออร์โธดอกซ์  = 12% และ อื่นๆ 1%
  • มุสลิม 1,598,510,000 คน (23%) โดยเป็นซุนนี = 87-90% , ชีอะฮ์ = 10-13% 
  • ไม่นับถือศาสนา 1,126,500,000 (16%) : ผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า ผู้ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า และผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาใดโดยเฉพาะ หนึ่งในห้าคน (20%) ในสหรัฐอเมริกาไม่มีศาสนา
  • ชาวฮินดู 1,033,080,000 คน (15%) ซึ่งส่วนใหญ่ (94%) อาศัยอยู่ในอินเดีย
  • ชาวพุทธ 487,540,000 คน (7%) ซึ่งครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในประเทศจีน
  • นักศาสนาพื้นบ้าน 405,120,000 คน (6%) : ความศรัทธาที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มคน ชาติพันธุ์ หรือชนเผ่าใดกลุ่มหนึ่ง
  • ศาสนาอื่น ๆ 58,110,000  (1%) : ศาสนาบาไฮ, เต๋า, เชน, ชินโต, ซิกข์, เทนริเกียว, วิคคา, โซโรอัสเตอร์และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • ชาวยิว 13,850,000 คน (0.2%) สี่ในห้าอาศัยอยู่ในสองประเทศ: สหรัฐอเมริกา (41%) และอิสราเอล (41%)

 

ประชากรโลก ณ ปี 2022 เติบโตในอัตราประมาณ0.84% ​​ต่อปี (ลดลงจาก 1.05% ในปี 2020, 1.08% ในปี 2019, 1.10% ในปี 2018 และ 1.12% ในปี 2017) การเพิ่มขึ้นของประชากรใน ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ67 ล้านคนต่อปี อัตราการเติบโตต่อปีถึงจุดสูงสุดในช่วงปลายทศวรรษ 1960 เมื่ออยู่ที่ประมาณ 2% อัตราการเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่งตั้งแต่นั้นมา และจะลดลงอย่างต่อเนื่องในปีต่อๆ ไป ประชากรโลกจะยังคงเติบโตในศตวรรษที่ 21 แต่ในอัตราที่ช้าลงมากเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา ประชากรโลกเพิ่มขึ้นสองเท่า (เพิ่มขึ้น 100%) ใน 40 ปี จากปี 1959 (3 พันล้าน) เป็น 1999 (6 พันล้าน) ขณะนี้มีการประเมินว่าจะใช้เวลาอีกเกือบ 40 ปีในการเพิ่มขึ้นอีก 50% เพื่อให้เป็น 9 พันล้านภายในปี 2580 การคาดการณ์ประชากรโลกล่าสุดระบุว่าประชากรโลกจะสูงถึง 10,000 ล้านคนในปี 2057

อันดับ

ประเทศ

ประชากร

ในปี 2050

แบ่งปันโลก

อันดับเมื่อปี 2020

1 อินเดีย 1,639,176,033 16.8 % (2)
2 จีน 1,402,405,170 14.4 % (1)
3 ไนจีเรีย 401,315,000 4.1 % (7)
4 สหรัฐ 379,419,102 3.9 % (3)
5 ปากีสถาน 338,013,196 3.5 % (5)
6 อินโดนีเซีย 330,904,664 3.4 % (4)
7 บราซิล 228,980,400 2.4 % (6)
8 เอธิโอเปีย 205,410,675 2.1 % (12)
9 ดีอาร์ คองโก 194,488,658 2 % (16)
10 บังคลาเทศ 192,567,778 2 % (8)
11 อียิปต์ 159,956,808 1.6 % (14)
12 เม็กซิโก 155,150,818 1.6 % (10)
13 ฟิลิปปินส์ 144,488,158 1.5 % (13)
14 รัสเซีย 135,824,481 1.4 % (9)
15 แทนซาเนีย 129,386,839 1.3 % (24)
16 เวียดนาม 109,605,011 1.1 % (15)
17 ญี่ปุ่น 105,804,027 1.1 % (11)
18 อิหร่าน 103,098,075 1.1 % (18)
19 ตุรกี 97,139,570 1 % (17)
20 เคนยา 91,575,089 0.9 % (27)

Image by Freepik

Tweet Pin It
เรื่องก่อนหน้า
เรื่องถัดไป
Tags:saradeestory ประชากรจีน ประชากรอินเดีย ประชากรอินเดียใกล้จะแซงหน้าจีนแล้ว ประชากรโลก สาระดีสตอรี่

เรื่องที่น่าสนใจ

49 เริ่มแล …
สิทธิ สังคม และการเมือง, ข่าว 20/04/2023

สิทธ์บัตรทองรับ“ผ้าอ้อมผู้ใหญ่”ฟรีไม่เกิน 3 ชิ้น/วัน

197 จากข้อ …
ข่าว 07/12/2022

ค่าแรงขั้นต่ำในอดีตจนถึงปัจจุบัน 2565

176 ส่องสถ …
ข่าว 04/03/2023

ส่องสถิติหวยออกย้อนหลัง 10 ปี งวด 16 มีนาคม

242 เมื่อห …
มุมอิสระ 08/12/2020

ธุรกิจร้านตัดเสื้อผ้ากับนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก

5 เรื่องล่าสุด

  • 31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก
    31/05/2023
    คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2566 “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” ประวัติวันงดสู
  • ส่องงาน JOB EXPO THAILAND 2023 มีอะไรเพื่อ “วัยเก๋าและกลุ่มเปราะบาง”
    29/05/2023
    กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานชวนผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง ร่วมงานมหกรรมจัดหางาน JOB EXPO THAILAND 2
  • กทม. เริ่มโครงการผ้าอนามัยฟรีในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร 
    29/05/2023
    วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่โรงเรียนวัดราชสิ
  • สภาผู้บริโภคเสนอวิธีแก้ค่าไฟแพง แบบไม่ต้องใช้งบประมาณภาษีประชาชน
    28/05/2023
    จากปัญหาค่าไฟฟ้าแพงสร้างความเดือดร้อนแบบที่เรียกว่า “แสนสาหัส” กับประชาชนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อ
  • แนะนำ 5 เทคนิคดี ๆ ช่วยลดขยะอาหาร ที่ร้านบุฟเฟ่ต์ต้องรู้
    28/05/2023
    ปัจจุบัน ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถเลือกกินได้แบบไม่อั้น แต่สิ่งที

5 เรื่องติดอันดับ

  • 31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก
    31/05/2023
  • งานน่าสนใจ 5 บริษัท ที่ประกาศเปิดรับสมัคร (รวบรวม 1 ก.ย.65)
    04/09/2022
  • มาทำความรู้จัก Social Media Detox กัน
    08/09/2022
  • 11 ข้อประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานกับชาวต่างชาติ
    08/09/2022
  • กษัตริย์ใหม่แห่งสหราชอาณาจักร ชาร์ลส์ที่3
    09/09/2022

หมวดหมู่

legal (1) ข่าว (75) ท่องเที่ยว (24) นักหัดเขียน (4) บทความต่างประเทศ (35) บันเทิงเกาหลี (8) บุคคลสำคัญ (5) ประวัติศาสตร์ (5) ภัยพิบัติ (1) ภัยใกล้ตัว (2) มุมอิสระ (5) วันสำคัญ (12) สมัครงาน (7) สัตว์ (8) สาระสุขภาพ (18) สิทธิ สังคม และการเมือง (18) สิ่งแวดล้อม (33) อาหาร (12) ฮวงจุ้ย (1) เตือนภัยล่วงหน้า (3) เทคโนโลยีและความก้าวหน้า (1) ไลฟ์สไตล์ (11)

เพจ:สาระดีสตอรี่

saradeestory

Copyright © 2023 saradeestory
Email : admin@saradeestory.com