ทอดกฐินประเพณีไทยตั้งแต่สมัยพุทธกาล

งานเทศกาลทอดกฐิน เป็นการทำบุญสำคัญได้ปีละครั้ง หลังออกพรรษา ฤดูกาลปลายฝนต้นหนาว ด้วยความเชื่อ และศรัทธาแรงกล้า ว่าได้อานิสงส์บุญมากมาย เช่น ความมั่งคั่ง ทรัพย์สินเงินทอง รูปทรัพย์ ความมีชื่อเสียง ความเคารพ นับถือ

Kathin ceremony or Present robes to monks at the end of Buddhist Lent is a festival time of Thai Buddhists to make merit at their local temple.

ความเป็นมาของกฐินในสมัยพุทธกาล

ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) คือ

  1. ไปไหนไม่ต้องบอกลา
  2. ไม่ต้องถือไตรจีวไปครบสำรับสามผืน
  3. ฉันคณโภชนะได้ (รับนิมนต์ที่เขานิมนต์โดยออกชื่อโภชนะฉันได้
  4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ
  5. จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว

เทศกาลกฐินในประเทศไทยมีมาแต่เมื่อไหร่

ประเพณีการทอดกฐิน  สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  การถือปฏิบัติประเพณี    การบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลเข้าพรรษาในสมัยกรุงสุโขทัย   เป็นราชธานี ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒)

ทอดกฐิน เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่า เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่า เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน

ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป  แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน

การทอดกฐินมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๔ ลำดับ ดังนี้คือ

1.“กฐินหลวงคือ กฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง ณ วัดหลวงสำคัญๆ ปัจจุบันมี ๑๖ วัด

2. กฐินต้นคือ กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง

3. “กฐินพระราชทานเป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่     ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทานไปถวายยังวัดหลวง นอกจากวัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่า กฐินพระราชทาน จึงเป็นกฐินที่มีหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ นำไปถวายนั่นเอง

4. กฐินราษฎร์เป็นกฐินที่ราษฎรหรือประชาชน ผู้มีจิตศรัทธานำผ้ากฐินของตัวเองไปถวายตามวัดต่างๆ ที่มิใช่วัดหลวง ๑๖ วัด

ในงานทอดกฐินเราจะเห็นธงที่ประดับในงาน 4 แบบ เป็นปริศนาธรรมของคนโบราณว่า

1.จระเข้ หมายถึง ความโลภ 

2.ตะขาบ หมายถึง ความโกรธ

3.นางมัจฉา หมายถึง ความหลง

4.เต่า หมายถึง สติ

โดยธงกฐินนั้น ทางวัดมักมอบให้แก่ญาติโยมที่มาทอดกฐิน โดยเชื่อว่า 

1.ธงจระเข้ จะทำให้ค้าขายดี มีโชคลาภ 

2.ธงนางมัจฉา จะทำให้มีเมตตามหานิยมแก่ผู้พบเห็น 

3.ธงตะขาบ จะทำให้แคล้วคลาดปลอดภัย ขับไล่สิ่งชั่วร้ายทั้งปวงที่จะเข้ามา ทำให้ศัตรูยำเกรง ปกป้องให้พ้นภัยจากภยันตรายทั้งปวง 

4.ธงเต่า จะทำให้สุขภาพแข็งแรง

ในปัจจุบันจะเห็นเพียงธงจระเข้ และนางมัจฉา ที่จะปรากฎในงานกฐิน ส่วนธงตะขาบ และเต่าพบเห็นได้น้อย

อานิสงส์ของการทอดกฐิน 

พระจะได้รับอานิสงส์ ประการคือ

1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาพระภิกษุด้วยกัน

2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้

3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้

4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปราถนา

5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น

สำหรับผู้ทอดกฐิน หรือญาติโยมก็จะได้รับอานิสงส์ 5 ประการเช่นกัน

1. ทำให้มีอายุยืนยาว

2. ทำให้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์

3. จะไม่ถูกวางยาพิษให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

4. ทรัพย์สมบัติจะไม่เป็นอันตรายด้วยโจรภัยหรืออัคคีภัย

5. จะได้เป็นเอหิภิกขุในอนาคต


ที่มา : https://www.gotoknow.org/,https://th.wikipedia.org/wiki/กฐิน